กล่องข้อความ: 		7-50100-001-179  		  ชื่อพื้นเมือง	:  ยางนา  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Dipterocarpus alatus Roxb.  ชื่อวงศ์	:  DIPTEROCARPACEAE  ชื่อสามัญ	:  Keruing ,Yang  ประโยชน์	:  ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน  ให้ร่มเงา  กำบังลม  ให้ความชุ่มชื้น  ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน น้ำต้มเปลือกกินแก้ตับอักเสบ  บำรุงร่างกาย  ฟอกเลือด  และใช้ทาถูนวด แก้ปวดตามข้อ

บริเวณที่พบ : แปลงเกษตร
ลักษณะพิเศษของพืช :
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงถึง 50 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
ต้น : เปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาปนขาวค่อนข้างเรียบลำต้นขนาดใหญ่เปลือกมักแตกสะเก็ดเป็นหลุมตื้น
เปลือกในสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู
ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบมนถึงแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นเส้นกลางใบ
ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่ม เส้นแขนงใบ 14-16 คู่ ก้านใบยาว 3-5 ซม.
ดอก : สีชมพู ออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ยอด ผลรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. มีครีบตามความยาวของผล 5 ครีบ
มีปีกยาวใหญ่ 2 ปีกและปีกสั้น 3 ปีก
ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป เช่นพื้น ฝา รอด ตง และหีบใส่ของ เป็นต้น น้ำมันใช้ทาไม้ยาแนวเรือ ยาเครื่องจักสานทำไต้
และใช้เติมเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ทำน้ำมันใส่แผลแก้โรคเรื้อน และกินแก้โรคหนองใน


กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ลักษณะวิสัย
ใบ

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้     ยางนา    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-179